News Flash
รัฐบาลเปิดแผนแก้หนี้ '13 ล้านล้านบาท' รัฐบาลกางแผนแก้หนี้ครัวเรือน 13.6 ล้านล้าน 90.6% ของจีดีพี โดยจะมุ่งไปที่การแก้ปัญหาหนี้เสียที่มีสะสม 8.06 แสนล้านบาท ดังนี้
1. หนี้ที่เป็นหนี้บัตรเครดิต และสินเชื่อบุคคล ซึ่งหนี้ในส่วนนี้มีวงเงินรวมกันในระบบ ประมาณ 3.201 ล้านล้านบาท เป็น NPL รวมกันประมาณ 3.34 แสนล้านบาท โดยหนี้ในส่วนนี้สถาบันการเงิน ได้ตั้งสำรองหรือสงสัยหนี้จะสูญไว้ครบแล้ว รัฐบาลมีแนวทางไปเจรจากับธนาคารเจ้าหนี้เพื่อที่จะซื้อมาบริหารจัดการต่อไป
2. สินเชื่อบ้าน หนี้ในส่วนนี้มีวงเงินรวม 5,121,022 ล้านบาท เป็น NPL เพียง 236,637 ล้านบาท หรือ 4.62% ของสินเชื่อในกลุ่มนี้ทั้งหมด โดยในแนวทางการจัดการหนี้ NPL ในส่วนนี้รัฐบาลจะไม่เข้าไปช่วยซื้อหนี้ แต่จะผลักดันเสนอให้ใช้มาตรการยืดเวลาผ่อนชำระหนี้ให้ยาวขึ้น ซึ่งเป็นมาตรการเดียวกับที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) มีการยืดเวลาผ่อนชำระให้ยาวนานขึ้นตามกำลัง ความสามารถของผู้กู้ เว้นแต่ผู้กู้ไม่มีเจตนาชำระหนี้ ก็ให้ใช้กฎหมายบังคับให้ชำระหนี้
3. หนี้รถยนต์ และสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์เชิงพาณิชย์ มีวงเงินรวมกันประมาณ 2.627 ล้านล้านบาท เป็น NPL ประมาณ 3.33 แสนล้านบาท โดยแนวทางในการบริหารจัดการหนี้ประเภทนี้มีภาระการติดตามหาทรัพย์ที่เป็นหลักประกันคือรถยนต์ และการเก็บรักษา ดังนั้นรัฐไม่ควรเข้าไปซื้อหนี้รถยนต์ ในส่วนนี้เพราะจะมีปัญหาตามมามาก
4. หนี้ที่เป็นสินเชื่อหมุนเวียนของเกษตรกร สินเชื่อเพื่อการพาณิชย์ หนี้ O/D เบิกเกินบัญชี โดยหนี้ในส่วนนี้มีวงเงินรวมทั้งหมดประมาณ 1.66 ล้านล้านบาท เป็น NPL อยู่ประมาณ 1.18 แสนล้านบาท โดยหนี้ในส่วนนี้รัฐบาลก็จะไม่เข้าไปซื้อหนี้เนื่องจากสัดส่วนของหนี้เสียไม่มากนักแต่ภาครัฐจะกำกับดูแลให้ธนาคารเจ้าหนี้บริหารจัดการเอง
5. หนี้ครัวเรือนที่ไม่ได้อยู่ในสถาบันการเงิน เช่น กู้เงินจากสหกรณ์ กู้เงินจากนาโนไฟแนนซ์ ซึ่งมีวงเงินรวมกันประมาณ 1.08 แสนล้านบาท และเป็นหนี้เสียประมาณ 1.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งหนี้ส่วนนี้มีหน่วยงานที่เป็นเจ้าหนี้นั้นติดตามทวงถามลูกหนี้ตามขั้นตอน โดยใน ส่วนนี้รัฐบาลไม่มีแผนเข้าไปรับซื้อหนี้แต่อย่างใด (ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ)
Implication
เรามองเป็นกลางต่อกลุ่มธนาคาร โดยรัฐบาลจะเข้ามาช่วยเพียงสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลเหมือนเดิม ส่วนสินเชื่อรายย่อยอื่นๆ อย่างสินเชื่อบ้าน, สินเชื่อรถยนต์ และสินเชื่อสหกรณ์ ไม่ได้มีมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมจากภาครัฐ ซึ่งส่วนใหญ่แต่ละธนาคารมีการปรับโครงสร้างหนี้ให้ลูกหนี้กลุ่มนี้อยู่แล้ว อย่างไรก็ดี หากมาตรการช่วยเหลือของสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลเกิดขึ้นจริง จากการตั้ง AMC แห่งชาติและใช้เงินจาก FIDF มาช่วย จะส่งผลดีจากการช่วยเลื่อน NPL ออกไป และจะทำให้ Credit cost มีโอกาสลดลงได้เพราะสินเชื่อสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลส่วนใหญ่ธนาคารจะมีการ write-off ที่ค่อนข้างเร็วและตั้งสำรองฯไปหมดแล้ว โดยหุ้นที่มีสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลจากมากไปน้อย คือ KTB (26%), KBANK (9%), TTB (7%) และ SCB (5%) สำหรับกลุ่มธนาคาร
Valuation/Catalyst/Risk
เรายังคงน้ำหนักเป็น “มากกว่าตลาด” เลือก KTB, TTB, BBL เป็น Top pick เราให้น้ำหนักการลงทุนของกลุ่มธนาคารเป็น “มากกว่าตลาด” เพราะแนวโน้มการเติบโตของกำไรปี 2025E จะยังเติบโตได้ต่อเนื่องอีก +4% YoY ขณะที่ valuation ยังถูก โดยเทรดที่ระดับเพียง 0.68x PBV (-1.25SD below 10-yr average PBV) ขณะที่เรายังคงเลือก KTB, TTB, BBL เป็น Top pick