News Flash
คลังเตรียมเสนอซอฟต์โลน 1 แสนล้าน เยียวยาผู้ส่งออก- SMEs จากภาษีสหรัฐ นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เปิดเผยภายหลัง การประชุมมอบนโยบายสถาบันการเงินของรัฐ ช่วยภาคธุรกิจรับมือมาตรการภาษีสหรัฐอเมริกา และออกมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบายของรัฐว่า ในวันที่ 19 พ.ค.นี้ โดยธนาคารออมสินจะออกเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) วงเงิน 1 แสนล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 0.01% ปล่อยสินเชื่อต่อในอัตราไม่เกิน 3.5% ซึ่งจะเร่งเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติ ได้แก่ โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) วงเงินรวม 100,000 ล้านบาท ซึ่งดำเนินการโดยธนาคารออมสิน โดยโครงการนี้จะมีการกำหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่แตกต่างจากโครงการซอฟต์โลนอื่นๆ ที่ผ่านมา เนื่องจากมีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายผู้ประกอบการที่จะได้รับความช่วยเหลืออย่างชัดเจน 3 กลุ่มหลัก ได้แก่
1. ผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกสินค้าไปยังตลาดประเทศสหรัฐอเมริกา
2. ผู้ประกอบการในธุรกิจ Supply Chain ที่เกี่ยวข้องกับภาคการส่งออก
3. ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิตสินค้าที่มีการแข่งขันสูงกับสินค้านำเข้าราคาถูกจากต่างประเทศ
นอกจากกลุ่มเป้าหมายหลักเหล่านี้ โครงการยังจะครอบคลุมผู้ประกอบการ SMEs ในภาพรวมด้วย(ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด)
Implication
เรามีมุมมองเป็นกลางต่อประเด็นดังกล่าว เรามองเป็นกลางต่อ Soft loan โดยรอบนี้ที่จะให้เพียง 1 แสนล้านบาท (เทียบกับสินเชื่อทั้งระบบอยู่ที่ 15 ล้านล้านบาท) โดยเป็นการให้สินเชื่อสำหรับลูกหนี้ผู้ส่งออกและ SME ซึ่งเมื่อเทียบกับรอบก่อนช่วงโควิดมีการให้ Soft loan ที่ 2.5 แสนล้านบาท ให้ลูกหนี้ SME อย่างเดียว (เป็นลูกหนี้ใหม่ที่สามารถเข้าร่วมโครงการได้มีเพียง 23% ของวงเงินทั้งหมด หรือคิดเป็นราว 6 หมื่นล้านบาท) ซึ่งธนาคารที่มีสินเชื่อ SME มากที่สุดคือ KBANK มีสัดส่วนที่ 29% ของสินเชื่อรวม และ BBL มีสินเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกมากที่สุด แต่อย่างไรก็ดี ด้วยภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ชะลอตัวลง ทำให้เรามองว่า Risk-Reward ในการปล่อยสินเชื่อ Soft loan อาจจะไม่คุ้มค่า เพราะมีโอกาสสูงที่การตั้งสำรองหรือ Credit cost จะเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เรายังคงให้น้ำหนักการลงทุนเป็น “เท่ากับตลาด” โดยเราเลือก KTB (ซื้อ/เป้า 25.00 บาท) เป็น Top pick