logo
search
flag-th
share-icon

พายุเงินเฟ้อ-ดอกเบี้ย กำลังซัดเศรษฐกิจโลกถดถอย.?

☀️THE SUNDAY PAPER : น่าวิตกไม่น้อยสำหรับคำที่เริ่มพูดถึงและวิเคราะห์กันมากในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาคือ "ภาวะเศรษฐกิจถอย " หรือ "Recession"  เหตุเพราะอัตราเงินเฟ้อที่กำลังทำให้เศรษฐกิจเติบโตลดลง สหรัฐอเมริกาประเทศเศรษฐกิจหลักต้องตัดสินใจใช้นโยบายดอกเบี้ยที่แรงขึ้นถึง 0.75% เพื่อคุมเงินเฟ้อและทำให้ธนาคารกลางหลายประเทศต้องขยับขึ้นดอกเบี้ยตาม

 

🔴ผลกระทบจากเงินเฟ้อที่กำลังสูงขึ้นเป็นโจทย์ใหญ่มากขึ้นเช่นกันที่แต่ละประเทศต้องรับมือจากนี้ เพราะมีผลกระทบต่อมิติเศรษฐกิจหลายด้าน ทั้ง ราคาสินค้า การลงทุน การจ้างงาน อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ค่าเงิน ราคาสินทรัพย์ต่างๆ ...ข้อมูลของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุว่า แรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อในปี พ.ศ. 2565 มีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งก่อนที่จะเกิดสงครามยูเครนกับรัสเซียนั้นอัตราเงินเฟ้อทั่วโลกมีการขยายตัวมาก่อนแล้วเนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ที่กระทบต่อห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก และหลังจากการบุกยูเครนโดยรัสเซียในเดือนกุมภาพันธ์ได้สร้างผลกระทบราคาพลังงานและราคาอาหารทั่วโลก จึงทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นในระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

 

⚠️นั่นทำให้ประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศเจอกับปัญหาการเติบโตของเศรษฐกิจและก็ทำให้ประเทศอุตสาหกรรมใหญ่ก็โดยผลกระทบตามไปด้วย ซึ่งเมื่อพิจารณาจากสถานการณ์เงินเฟ้อและปัจจัยในปัจจุบัน IMF คาดว่า ในปี 2022 หลายประเทศจะเจอภาวะเงินเฟ้อพุ่งสูงอย่างหนักจากเนื่องจากปัจจัยความไม่สงบในประเทศและสภาพเศรษฐกิจที่ไม่แข็งแรงอยู่แล้ว เช่น ประเทศเวเนซุเอลา IMF ประมาณการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้ออาจพุ่งสูงถึง 500% ประเทศซูดานอาจถึง 254% ประเทศซิมบับเวประมาณ 86%  ตุรกีประมาณ 60%  เยเมน 59% และอาร์เจนตินาประมาณ 51%  

 

🌪เรียกได้ว่า "พายุเงินเฟ้อ" ก่อตัวขึ้นแล้วและกำลังซัดกระหน่ำเศรษฐกิจหลายประเทศ รวมทั้งกำลังหอบพัดพาความกลัวที่ว่าจะเกิด "ภาวะถดถอย" มาด้วย การขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ไม่สมดุลกับการเติบโตของเศรษฐกิจ กำลังเป็นโจทย์ที่ท้าทายและน่าจับตามองของธนาคารกลางและนักลงทุนที่กำลังเจอความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาสินทรัพย์ รวมไปถึงการใช้ชีวิตของผู้คนที่กำลังเจอรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นเพราะราคาสินค้าอาหารที่แพงขึ้นอย่างน่าตกใจ  

 

🍔หากลองไปดูที่ประเทศสหรัฐฯข้อมูลจาก สำนักสถิติแรงงานสหรัฐฯ (BLS) เมื่อเดือนเม.ย. 2565 ที่ผ่านมา ระบุว่า สินค้าในชีวิตประจำวันมีราคาแพงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาอาหารที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เห็นได้จากวัตถุดิบต่างๆใน "แฮมเบอร์เกอร์" ที่เพิ่มขึ้น โดยราคา 'เนื้อบด' เพิ่มขึ้นเกือบ 15 % ราคา 'เบคอน' แพงขึ้น 17.7%  ขนมปังเพิ่มขึ้น 10% ผักกาดหอมเพิ่มขึ้น 12% ซอสปรุงรสเพิ่มขึ้น 9%  แต่จะมีราคาผักบางชนิดที่เพิ่มขึ้นไม่มาก อย่างราคามะเขือเทศเพิ่มขึ้นเพียง 0.4%  แต่ราคาอาหารค่อนข้างมีความผันผวน เช่นเดียวกับราคาพลังงาน

 

🔴ผลจากการล็อกดาวน์เศรษฐกิจในช่วงการระบาดโควิด-19 ยังคงมีผลกระทบต่อ Supply Chain  ทั่วโลกอยู่ และที่สำคัญการบุกยูเครนของรัสเซียเป็นตัวหนุนให้เกิดการหยุดชะงักด้านอุปทานในพลังงานเพราะการคว่ำบาตรรัสเซียและสินค้าเกษตรจากยูเครนที่หายไปจากตลาดโลก นั่นเป็นปัจจัยที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อเกิดขึ้นในหลากหลายสินค้า

 

🔴อันนี้เป็นแค่ตัวอย่างราคา "แฮมเบอร์เกอร์" เท่านั้น เชื่อว่าอาหารหลายชนิดในสหรัฐฯและทั่วโลกคงเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอนหรืออาจจะขาดแคลน รวมท้ังในประเทศไทยสินค้าในการครองชีพหลายชนิดปรับตัวขึ้นและยังไม่เห็นสัญญาณการปรับตัวลง ดังนั้น"พายุเงินเฟ้อ"ไม่น่าจะเป็นพายุธรรมดา และพายุลูกนี้อาจพาพายุลูกใหม่ตามมาอีกหรือไม่ THE SUNDAY PAPER จะนำมาเสนอในตอนต่อไป

 

📌อย่างไรก็ภาพรวมของเงินเฟ้อและความกังวลใน Recession เวลานี้เชื่อว่าแต่ละประเทศคงจะรับมือกันได้พอสมควรแม้ว่าจะมีผลกระทบมากและต้องใช้เวลา ขณะที่ด้านการลงทุนแน่นอนว่าเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังและต้องทำการบ้านในทางข้อมูลประกอบการลงทุนมากขึ้น ซึ่งหลังจาก FED ขึ้นดอกเบี้ย 0.75% จนทำให้ราคาสินทรัพย์มีความผันผวนอย่างหนัก เราจะวางกลยุทธ์ลงทุนอย่างไรดีจากนี้ DAOL SEC มีมุมมองและคำแนะนำไว้ในรายการ "MACRO TALK SPECIAL" เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ไปฟังกันได้ที่ Facebook Fanpage  ➡ https://fb.watch/dJy9Pc23F6/ หรือ Youtube DAOL Channel ➡ https://www.youtube.com/watch?v=f1gtcvUXE1M
 

กลับสู่ด้านบน

combo-icon
certified

บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

DAOL Contact Center 0 2351 1800contactcenter@daol.co.th

DAOL Contact Center Address เลขที่ 87/2 อาคารซีอาร์ซีทาวเวอร์ ชั้นที่ 18 ออลซีซั่นส์เพลส ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

logo

and our member companies

บริษัทหลักทรัพย์บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรีท แมเนจเมนท์บริการสินเชื่อ

©2024 บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สงวนลิขสิทธิ์